| | ชื่อหลักสูตร : | ว.40224:เคมี3 | ผู้สร้างหลักสูตร : | pensiri.pua | ระยะเวลา : | 1 วัน | เนื้อหา :
เรียนรู้การคำนวณโดยใช้หน่วยนำทาง ศึกษาวิเคราะห์ความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยต่างๆ การเตรียมสารละลาย จุดเดือด จุดเยือกแข็งหรือจุดหลอมเหลวของสารละลายที่แตกต่างจากสารบริสุทธิ์ ปริมาณ สัมพันธ์ของแก๊สตามกฎของเกย์-ลูสแซกและกฎอาโวกาโดร สูตรเอมพิริคัล สูตรโมเลกุล มวลขององค์ประกอบจากสูตรเคมี ปริมาณสัมพันธ์ของสารในสมการเคมี วิเคราะห์แนวโน้มสมบัติบางประการของธาตุตามตารางธาตุ ได้แก่ จุดเดือด จุดหลอมเหลว และความหนาแน่น ศึกษาเลขออกซิเดชัน ธาตุแทรนซิชัน สารประกอบของธาตุแทรนซิชัน ธาตุกัมมันตรังสี การแผ่รังสีและครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสี ประโยชน์และการป้องกันอันตรายจากธาตุกัมมันตรังสี ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของธาตุและสารประกอบบางชนิดในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ศึกษาวิเคราะห์ความหมายของอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี พลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยาเคมี ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีได้แก่ พื้นที่ผิว อุณหภูมิ ความดันแก๊ส ความเข้มข้น ตัวเร่ง และตัวหน่วงปฏิกิริยา โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบค้นข้อมูล การสำรวจตรวจสอบ การสืบเสาะหาความรู้ การอภิปราย การอธิบายเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม
| วัตถุประสงค์ :
1. อธิบายและคำนวณความเข้มข้นของสารละลายในหน่วย ร้อยละโดยปริมาตรต่อปริมาตร ร้อยละโดยมวลต่อมวล ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร โมล/ลูกบาศก์เดซิเมตร โมล/กิโลกรัมและเศษส่วนโมล คำนวณและสามารถเตรียมสารละลายให้มีความเข้มข้นและปริมาตรตามต้องการ 2. อภิปราย อธิบาย และทำการทดลองเพื่อหาจุดเดือด จุดหลอมเหลวของสารทั้งสารบริสุทธิ์และสารละลาย เปรียบเทียบจุดเดือด จุดเยือกแข็งหรือจุดหลอมเหลวของสารละลายกับตัวทำละลายบริสุทธิ์ คำนวณเกี่ยว กับจุดเดือดและจุดหลอมเหลวหรือจุดเยือกแข็งที่เปลี่ยนไปของสารละลาย บอกปัจจัยที่มีผลต่อจุด เดือด จุดหลอมเหลวหรือจุดเยือกแข็งของสารละลาย 3. ทำการทดลอง และอภิปรายเพื่อศึกษาปฏิกิริยาเคมีของแก๊ส คำนวณปริมาณสารสัมพันธ์และสูตรโมเลกุล ของแก๊ส ตามกฎรวมปริมาตรของเกย์–ลูสแซก และกฎอโวกาโดร 4. อธิบายความหมาย และคำนวณสูตรโมเลกุล สูตรเอมพิริคัล มวลขององค์ประกอบจากสูตรเคมีและ คำนวณปริมาณสารที่เกี่ยวข้องกับสูตรเคมี 5. อธิบายความสัมพันธ์และคำนวณจำนวนโมล มวล และปริมาณสารต่างๆ ในสมการเคมี 6. วิเคราะห์ และ สรุปแนวโน้มตามคาบและตามหมู่ ของ จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความหนาแน่นของธาตุหมู่ A พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ 7. อธิบายความหมายและคำนวณเลขออกซิเดชันของธาตุในสารประกอบหรือไอออนต่างๆ
8. อธิบาย สมบัติของธาตุแทรนซิชัน และสรุปแนวโน้มของขนาดอะตอม พลังงานไอออไนเซชันอันดับที่1 อิเล็กโทรเนกาติวิตี สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน จุดเดือดจุดหลอมเหลว ความหนาแน่น ของธาตุแทรนซิชัน ในคาบที่ 4 และเปรียบเทียบสมบัติระหว่างธาตุและสารประกอบของธาตุแทรนซิชันกับธาตุและสาร ประกอบของธาตุหมู่ IA และIIA 9. อธิบายความหมายไอออนเชิงซ้อนและสารประกอบเชิงซ้อน ทำการทดลองเตรียมสารประกอบเชิงซ้อน ของธาตุแทรนซิชันบางชนิดและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อสีของสารประกอบของธาตุแทรนซิชัน 10. สืบค้น อภิปรายและอธิบายธาตุกัมมันตรังสี ประเภทของกัมมันตภาพรังสี การสลายตัวของธาตุกัมมันต รังสี ปฏิกิริยานิวเคลียร์ เขียนและแปลความหมายสมการนิวเคลียร์ คำนวณเกี่ยวกับครึ่งชีวิตของธาตุ กัมมันตรังสี รวมทั้งสืบค้นและนำเสนอประโยชน์ อันตรายและการป้องกันอันตรายจากธาตุกัมมันตรังสี 11. สืบค้น อภิปราย และอธิบายสมบัติ ประโยชน์ และโทษของธาตุและสารประกอบบางชนิดที่กระทบต่อ ชีวิตและสิ่งแวดล้อม 12. ทำการทดลองหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สรุปความหมายเขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสาร กับเวลา และคำนวณหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 13. อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีโดยใช้ทฤษฎีการชนกันของโมเลกุล 14. เขียนและแปลความหมายกราฟความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำเนินไปของปฏิกิริยา วิเคราะห์ พลังงานก่อกัมมันต์ พลังงานที่ดูดหรือคายของปฏิกิริยา และขั้นกำหนดอัตราการเกิดปฏิกิริยาจากกราฟ 15. ทำการทดลองเพื่อศึกษาผลของความเข้มข้น พื้นที่ผิว อุณหภูมิ ตัวเร่งและตัวหน่วงปฏิกิริยาที่มีผลต่อ อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี และเพื่อศึกษาสมบัติของตัวเร่ง และตัวหน่วงปฏิกิริยา 16. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของสารกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีและกฎอัตรา 17. วิเคราะห์และอธิบายผลของการเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่างๆที่มีต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยใช้ทฤษฎี การชน พลังงานก่อกัมมันต์ กลไกการเกิดปฏิกิริยา กราฟความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำเนิน ไปของปฏิกิริยาและ กราฟการกระจายพลังงานจลน์ของโมเลกุล
| คุณสมบัติผู้เข้าอบรม : นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรูที่เน้นวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
| รายละเอียดผู้สร้างหลักสูตร:
pensiri.pua
|
|